12 ช่วงเวลาสุขภาพ บริหารนาฬิกาชีวิต

รู้ไหมว่าร่างกายของคนเรานั้น มีการปรับตัวให้สมดุล กับช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงในแต่ล่ะวัน  การปรับตัวนี้ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและอวัยวะต่างๆในร่างกาย  การบริหารนาฬิกาชีวิตที่ดี ส่งผลให้สุขภาพดี และทำให้การเรียนของแต่ล่ะคน ดีขึ้นด้วยน่ะ มาดูกันว่าสำคัญยังไง

1. ตับ ( 01.00 – 03.00 น. )

นอนให้หลับสนิท –  ช่วงเวลานี้ตับจะกำจัดสารพิษในร่างกาย ลดระดับนํ้าตาลในเลือด ช่วงที่หลับสนิทจะทำให้เลือดไหลเวียนมาที่ตับได้ดี ตับสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ปอด ( 03.00 – 05.00 น. )

สูดอากาศบริสุทธ์ – ช่วงเวลานี้ปอดควรจะสามารถรับออกซิเจนได้อย่างเต็มที่  ระบบหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงเซลล์สมอง  ทำให้สมองปลอดโปร่ง สามารถใช้ความคิดได้ดีขึ้น

3. ลำใส้ใหญ่ ( 05.00 – 07.00 น. )

ขับถ่ายอุจจาระ –  ช่วงเวลานี้ลำไส้ใหญ่จะขับถ่ายของเสีย ที่เหลือจากการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกายแล้ว การขับถ่ายช่วงเวลานี้เป็นประจำ จะทำให้การขับถ่ายได้ง่าย มีการหลั่ง cortisol เพื่อช่วยให้ร่างกายกระปรี่กระเปร่า

4. กระเพาะอาหาร ( 07.00 – 09.00 น. )

กินอาหารเช้า – ช่วงเวลานี้ควรรับประทานอาหารเช้า เพื่อเป็นพลังงานในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน ถ้าเราไม่กินอาหารเช้า จะทำให้ไม่มีพลังงานที่เพียงพอสำหรับการทำสิ่งต่างๆ  สมองไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ส่งผลให้ในระยะยาว สมองอาจจะเสื่อมได้

5. ม้าม ( 09.00 – 11.00 น. )

พูดน้อย กินน้อย ไม่นอนหลับ – ช่วงเวลานี้ม้ามทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย  เมื่อภูมิคุ้มกันดี จะทำให้ร่างกายแข็งแรง เวลาเรียนก็จะได้ผลที่ดีด้วย ส่วนตับอ่อนจะผลิตเอนไซม์มาช่วยย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก ร่างกายช่วงนี้จะมีความตื่นตัวมาก เหมาะต่อการทำงาน

6. หัวใจ ( 11.00 – 13.00 น. )

หลีกเลี่ยงความเครียดทั้งปวง –  ช่วงเวลาของหัวใจ ซึ่งเป็นอวัยวะที่คอยทำหน้าที่สูบฉีดเลือด ส่งสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ควรหลีกเลี่ยงความเครียด ซึ่งจะทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ส่งผลต่อความดันโลหิตได้

7. ลำไส้เล็ก ( 13.00 – 15.00 น. )

งดกินอาหารทุกประเภท – ช่วงเวลาของลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมอาหาร  เพื่อนำสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เป็นพลังงานให้ร่างกายนำไปใช้งาน

8. กระเพาะปัสสาวะ ( 15.00 – 17.00 น. )

ทำให้เหงื่อออก – ช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งทำหน้าที่เก็บน้ำกรองจากไต เราควรออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายขับเหงื่อออกมา ซึ่งการออกกำลังกายในช่วงเวลานี้ ร่างกายจะได้รับผลอย่างมีประสิทธิภาพ

9. ไต ( 17.00 – 19.00 น. )

ทำให้สดชื่น  –  ช่วงเวลาของไต เพื่อกรองของเสียออกจากเลือดและรักษาสมดุลในร่างกาย  ไม่ควรนอนหลับในช่วงเวลานี้ เพราะจะทำให้เวลานาฬิกาชีวิตเลื่อนไปอีก ทำให้นอนไม่หลับในตอนดึก จึงควรหาอะไรทำให้รู้สึกสดชื่น

10. เยื่อหุ้มหัวใจ ( 19.00 – 21.00 น. )

ทำสมาธิ – ช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของหัวใจ  อุณหภูมิในร่างกายจะเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงเวลานี้  ควรทำสมาธิให้จิตใจสงบ

11. ระบบความร้อนของร่างกาย ( 21.00 – 23.00 น. )

ทำร่างกายให้อบอุ่น – ช่วงเวลานี้ เป็นช่วงที่ร่างกายปรับสมดุลความร้อนและเป็นช่วงที่อุณหภูมิในร่างกายจะค่อยๆ ลดลง  ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ควรนอนหลับ ทำร่างกายให้อบอุ่น

12. ถุงน้ำดี ( 23.00 – 01.00 น. )

ดื่มน้ำก่อนนอน – ช่วงเวลาของถุงน้ำดี เพื่อเก็บน้ำดีที่ได้จากตับและส่งน้ำดีมาช่วยย่อยไขมันที่ลำไส้เล็ก ถุงน้ำดีและตับ จึงควนดื่มนํ้าก่อนนอน เพื่อให้ถุงนํ้าดีทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป 12 ช่วงเวลาสุขภาพ บริหารนาฬิกาชีวิต ให้ดีด้วยน่ะ จะได้ใช้ชีวิตอย่างสมดุล สุขภาพดี สมอง จิตใจดี อย่าลืมเอาไปใช้หรือแนะนำเพื่อนๆ กันด้วยน่ะจ๊ะ

SHARE